ในหลวง เสด็จภูเก็ต |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ฯ เสด็จพระราชดำเนิน ไปทอดพระเนตรการประกอบกิจการเหมืองแร่ เหมืองเจ้าฟ้าจังหวัดภูเก็ตเมื่อปีพศ.2502
Their Majesties The King andQueen paid a royal visit to Chao Fah Mine ,Phuket Province to observe
the mine business in 1959
เป็นพระฉายาลักษณ์ที่ ผมถ่ายมาจากภาพในพิพิธภัณฑ์สิรินธร Sirindhorn Museum ซึ่งตั้งอยู่ที่ ภูกุ้มข้าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นภาพเก่าที่หายาก อายุประมาณ 50 ปี พอ ๆ กับอายุของผม ครับ ถ้าท่านมีเวลาผมอยากให้ท่านไปชมพิพิธภัณฑ์สิรินธร เพราะมีเรื่องราวเกี่ยวกับ การกำเนิดโลกและความเป็นมาของไดโนเสาร์ น่าสนใจมากนะครับ
(ภาพเก่าที่หายาก ที่มา ภาพถ่ายในพิพิธภัณฑ์สิรินธร อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ )
|
ในหลวง เสด็จตะกั่วป่า |
พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ฯ เสด็จพระราชดำเนิน ณ สำนักงานเทศบาลเมืองตะกั่ว อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เมื่อ พ.ศ.2502 การเสด็จ พระราชดำเนินครั้งนี้ ได้เสด็จ ฯ เพื่อพักผ่อนพระอริยาบท ก่อนที่พระองค์จะเสด็จพระราชดำเนิน ต่อไปยังจังหวัดภูเก็ต โดยทางรถยนต์ ซึ่งจะผ่าน เขาหลัก บ้านทุ่งมะพร้าว บ้านท้ายเหมือง บ้านโคกกลอย โดยข้ามแพขนานยนต์ ที่บ้านท่านุ่น ฝั่งตรงข้าม ที่บ้านท่าฉัตรฉัตรไชย
(ภาพเก่าที่หายาก ที่มา : ภาพเก่าจากเทศบาลเมืองตะกั่วป่า ) |
ในหลวง เสด็จรัตภูมิ
|
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ไปยังอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา รูปภาพนี้เป็นรูปที่ประชาชน ในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ ได้ใส่กรอบติดไว้ที่ ร้านอาหารเจ๊แดง ตั้งอยู่ฝั่งตรงกันข้ามที่ว่าการอำเภอรัตภูมิ ผมเห็นว่าเป็นภาพมงคลจึงขออนุญาตถ่ายภาพมาให้ท่านได้ชม และท่านจะเห็นความพิเศษ คือ สมัยก่อน ชื่ออำเภอรัตตภูมิ จะมีตัวสะกดด้วย ต.เต่า 2 ตัว (ตามป้ายชื่ออำเภอ) แต่สมัยปัจจุบัน จะมี ต.เต่า เพียงตัวเดียว สะกด ภาพเสด็จพระราชดำเนิน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในครั้งนั้น น่าจะอยู่จะเป็นการเสด็จหัวเมืองทางภาคใต้ คราวเดียวกับเสด็จเมืองตะกั่วป่า ซึ่งผมขอเวลาค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกนิดเพื่อจะได้เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ต่อไป
(ภาพเก่าที่หายาก ที่มา : ร้านอาหารเจ๊แดง ) |
เรือขุดลำแรกของโลก |
เป็นภาพเรือขุดแร่ดีบุกในทะเลลำแรกของประเทศไทย โดยเป็นทรัพย์สินของบริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด มี กัปตันเอ็ดวาร์ด ที . ไมล์ ชาวเกาะทาสมาเนีย ประเทศออสเตเลีย ภาพถ่ายรูปนี้ ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2450 และเรือขุดแร่ดีบุกลำนี้ ขุดแร่อยู่ในบริเวณอ่าวภูเก็ต ที่เรียกว่า บริเวณสะพานหิน อ.เมืองภูเก็ต ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต
(ที่มา: ภาพในหนังสือ 3 ปี องค์การเหมืองแร่ในทะเล ) |
เรือสำรวจน้ำมันในทะเลอันดามัน |
เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2539 บริษัทสำรวจหาน้ำมัน คือ บริษัท ยูโนแคล ประเทศไทย จำกัด ได้ส่งเรือสำรวจหาน้ำมันในพื้นที่ทะเลอันดามัน ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทย ซึ่งเป็นเรือที่สำรวจด้วยคลื่นเสียง CECO Echo ขนาด 13 x 70 เมตร ระวางขับน้ำ 2,000 ตัน ซึ่งการสำรวจวิธีนี้ จะใช้วิธการยิง
(ที่มา : เอกสารข่าว Unocal Thailand 2539) |
ง่วนยกฟัด |
เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2552 ผมได้มีโอกาสได้ไปรับประทานอาหารที่ร้านข้าวหมูแดงแสงทอง ที่ตั้งอยู่ตัวเมืองสงขลา ซึ่งเป็นร้านอาหารที่เก่าแก่ และเป็นที่รู้จักของนักชิม แต่ที่ผมสนในมากไปกว่านั้นคือ ที่ข้างฝาร้าน มีรูปนักมวยคาดเชือก ยืนในท่าพร้อมชกอย่างทะมัดทะแมง พร้อมกับมีนิตยสารชื่อ น๊อกเอาท์ฉบับมวยสยาม ปีที่ 7 ฉบับที่ 549 ประจำวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2535 เขียนโดย เดชา ปราการะนันทน์ คอลัมภ์ย้อนยุคมวยไทย นักมวยคนนั้นคือ ยักษ์ไหหลำ หรือ ง่วนยกฟัด
(ภาพเก่าที่หายาก ที่มา : ร้านข้าวหมูแดงแสงทอง สงขลา)
|
จาง จงหมิน |
หมิงเซิน ได้เล่าเรื่องราวการต่อสู้ของพรรค ฯ ว่า การต่อสู้ของพรรค ตอนนั้น มีอยู่ 3 พรรค คือ พรรคคอมมิวนิตส์ปฏิวัติมาเลเซีย นำโดย นายอี้เจียง มีเขตอิทธิพลอยู่ในพื้นที่อำเภอนาทวี อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา พรรคคอมมิวนิสต์มาร์คเลนิน นำโดย นายจางจงหมิง เป็นพรรคที่มีกองกำลังทหารมาก มีเขตอิทธิพลอยู่ในพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และพรรคคอมมิวนิสต์มลายา นำโดย จีนเป็ง
(ที่มา : พิพิธภัณฑ์ อุโมงค์เขาน้ำค้าง อ.นาทวี จ.สงขลา) |
มาดาม ไซนอน |
มาดาม ไซนอน หรือ อาเยียน ภรรยา นายจีนเป็ง หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์มลายา โดย มาดาม ไซนอน เป็นกำลังสำคัญ ในการต่อสู้ เป็นหญิงแกร่งหลังม่าน นับว่าเป็นผู้นำตัวจริง ของการต่อสู้ รูปถ่ายนี้ เมื่อครั้งยังสาว
(ที่มา : พิพิธภัณฑ์ อุโมงค์เขาน้ำค้าง อ.นาทวี จ.สงขลา) |
|
การประกอบอาวุธยุทโธปกรณ์ ภายในค่าย พรรคคอมิวนิสต์มลายา ในเขตพื้นที่ เขาน้ำค้าง อ.นาทวี จ.สงขลา
(ที่มา : พิพิธภัณฑ์ อุโมงค์เขาน้ำค้าง อ.นาทวี จ.สงขลา) |
|